วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การนวดศรีษะ

การนวดศรีษะ

ควรนวดด้วยความนุ่มนวล ไม่ต้องใช้แรงมาก
เพราะเป็นปลายเส้นประสาทอยู่ตื้นๆ ควรใช้หน้านิ้วหรือปลายนิ้วนวด

การกดจุดสัญญาณศีรษะด้านหน้า

การจัดท่า
ผู้ถูกนวดนั่งขัดสมาธิ หรือนั่งห้อยขา
ผู้นวด นั่งท่าพรหมสี่หน้า หันหน้าเข้าหาผู้ถูกนวด

วิธีการนวด

๑ ตั้งเข่าขวา  มือขวาประคองศีรษะด้านหลัง
หงายมือซ้าย  วางนิ้วหัวแม่มือชี้ขึ้น กดส.๑ ศีรษะด้านหน้า  เหนือหัวคิ้วขวา

๒. สลับตั้งเข่าซ้าย มือซ้ายประคองศีรษะด้านหลัง
หงายมือขวา วางนิ้วหัวแม่มือชี้ขึ้น กด ส.๒ ศีรษะด้านหน้า เหนือหัวคิ้วซ้าย

๓. สลับตั้งเข่าขวา มือขวาประคองศีรษะด้านหลัง
คว่ำมือซ้าย วางนิ้วหัวแม่มือ กด ส.๓ ศีรษะด้านหน้า
ข้อต่อขากรรไกรด้านขวา นิ้วที่เหลือประคองที่ขมับ

๔. สลับตั้งเข่าซ้าย มือซ้ายประคองศีรษะด้านหลัง
คว่ำมือขวา วางนิ้วหัวแม่มือ กด ส.๔ ศีรษะด้านหน้า
ข้อต่อขากรรไกรด้านซ้าย? นิ้วที่เหลือประคองที่ขมับ

๕. ใช้นิ้วหัวแม่มือ กด ส.๕ จุดลูกคาง
นิ้วที่เหลือประคองใต้คาง มืออีกข้างประคองศีรษะด้านหลัง

ผลการนวด

ส.๑เหนือหัวคิ้วข้างขวา
(นิ้วหัวแม่มือซ้ายตั้งขึ้น)
- จ่ายความร้อนเข้าเบ้าตาขวาแก้ตาพล่ามัว อัมพาตใบหน้า ปวดศีรษะ
ส.๒เหนือหัวคิ้วข้างซ้าย
(นิ้วหัวแม่มือขวาตั้งขึ้น)
- จ่ายความร้อนเข้าเบ้าตาซ้าย- แก้ตาพล่ามัว อัมพาตใบหน้า ปวดศีรษะ
ส.๓ข้อต่อขากรรไกรด้านขวา
(นิ้วหัวแม่มือซ้ายคว่ำลง)
- จ่ายความร้อนเข้าข้อต่อกระดูกขากรรไกรขวาแก้อัมพาตหน้า ขากรรไกรค้าง ขากรรไกรอักเสบ หูอื้อ
ส.๔ข้อต่อขากรรไกรด้านซ้าย
(นิ้วหัวแม่มือขวาคว่ำลง)
- จ่ายความร้อนเข้าข้อต่อกระดูกขากรรไกรซ้าย- แก้อัมพาตหน้า ขากรรไกรค้าง ขากรรไกรอักเสบ หูอื้อ
ส.๕กึ่งกลางคาง
(จุดลูกคาง) ใช้นิ้วหัวแม่มือกด นิ้วที่เหลือรองใต้คาง
- จ่ายความร้อนไปลิ้นและริมฝีปาก เข้าคาง โคนลิ้น- แก้อาการปากเบี้ยว ลิ้นแข็ง ลิ้นกระด้างคางแข็งช่วยแก้อาการชาริมฝีปาก

การกดจุดสัญญาณศีรษะด้านหลัง
วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ 2010 เวลา 11:09 น.
การจัดท่าผู้ถูกนวด                นั่งขัดสมาธิ  หรือนั่งห้อยขาผู้นวด                     นั่งท่าพรหมสี่หน้า  หันหน้าเข้าหาหลังผู้ถูกนวด วิธีการนวด
๑.      นั่งท่าพรหมสี่หน้า  (ตั้งเข่าซ้าย)  มือซ้ายประคองหน้าผากผู้ถูกนวด
วางนิ้วหัวแม่มือขวา  กด  ส.๑  ศีรษะด้านหลัง  จุดใต้ฐานกะโหลกศีรษะด้านขวา  ดันขึ้น
๒.    นั่งท่าพรหมสี่หน้า  (ตั้งเข่าขวา)  มือขวาประคองหน้าผากผู้ถูกนวด
วางนิ้วหัวแม่มือซ้าย  กด  ส.๒  ศีรษะด้านหลัง  จุดใต้ฐานกะโหลกศีรษะด้านซ้าย  ดันขึ้น
๓.    นั่งท่าพรหมสี่หน้า  (ตั้งเข่าซ้าย)  มือซ้ายประคองหน้าผากผู้ถูกนวด
วางนิ้วหัวแม่มือขวา  กด  ส.๓  ศีรษะด้านหลังเหนือยอดสูงสุดของหูขวาเล็กน้อย  ทิศแรงไปทางตรงข้าม
๔.    นั่งท่าพรหมสี่หน้า  (ตั้งเข่าขวา)  มือขวาประคองหน้าผากผู้ถูกนวด
วางนิ้วหัวแม่มือซ้าย  กด  ส.๔  ศีรษะด้านหลัง  เหนือยอดสูงสุดของหูซ้ายเล็กน้อย  ทิศแรงไปทางตรงข้าม
๕.    นั่งท่าพรหมสี่หน้า  ใช้มือข้างเดียวกับที่ตั้งเข่าประคองหน้าผากผู้ถูกนวด
วางนิ้วหัวแม่มืออีกข้าง  กด  ส.๕  ศีรษะด้านหลัง  จุดกึ่งกลางท้ายทอย  ดันขึ้น
ตำแหน่งจุดสัญญาณศีรษะด้านหลัง
 ชื่อ
ตำแหน่ง
ผลของการกด
ส.๑ใต้ฐานกะโหลกศีรษะด้านขวา  (ใช้นิ้วหัวแม่มือขวากด  แล้วยกขึ้นเล็กน้อย)-บังคับเลือดและความร้อนไปศีรษะถึงหัวคิ้วออก เบ้าตาข้างขวา-แก้ตาพร่า  ตาลาย  แก้ปวดศีรษะ  เช่น  ลมตะกังลมปลายปัตคาตบ่า  เป็นต้น-ช่วยแก้อัมพาตใบหน้า  ตาหลับไม่ลง  ยักคิ้วไม่ขึ้น
ส.๒ใต้ฐานกะโหลกศีรษะด้านซ้าย  (ใช้นิ้วหัวแม่มือซ้ายกดแล้วยกขึ้นเล็กน้อย)-บังคับเลือดและความร้อนไปศีรษะถึงหัวคิ้วออก เบ้าตาข้างซ้าย-แก้ตาพร่า  ตาลาย  แก้ปวดศีรษะ  เช่น  ลมตะกังลมปลายปัตคาตบ่า  เป็นต้น-ช่วยแก้อัมพาตใบหน้า  ตาหลับไม่ลง  ยักคิ้วไม่ขึ้น
ส.๓เหนือหูขวาเล็กน้อย  (ปลายนิ้วหัวแม่มือแตะยอดใบหูด้านขวาบริเวณทัดดอกไม้  ออกแรงกดไปด้านตรงข้าม)-บังคับเลือดและความร้อนไปขมับ  กกหู  คิ้ว  และ  ตาด้านขวา-แก้หูอื้อ  ลมออกหู-ช่วยแก้  ตาพร่า  อัมพาตใบหน้า  ยักคิ้วไม่ขึ้น
ส.๔เหนือหูซ้ายเล็กน้อย  (ปลายนิ้วหัวแม่มือแตะยอดใบหูด้านซ้ายบริเวณทัดดอกไม้  ออกแรงกดไปด้านตรงข้าม)-บังคับเลือดและความร้อนไปขมับ  กกหู  คิ้ว  และตาด้านซ้าย-แก้หูอื้อ  ลมออกหู-ช่วยแก้  ตาพร่า  อัมพาตใบหน้า  ยักคิ้วไม่ขึ้น
ส.๕กึ่งกลางท้ายทอย  (จุดกำด้น)-บังคับเลือดและความร้อนขึ้นไปตามแนวกึ่งกลางสมอง  ผ่านแสกหน้า-แก้มึนงง  เวียนศีรษะ  ปวดศีรษะ-ช่วยแก้ตาพร่า  ตามัว  อัมพาตหน้า
 ข้อมูลจาก nuadthai1.wordpress

การนวดพื้นฐานขาด้านนอก

การนวดพื้นฐานขาด้านนอก

การนวดพื้นฐานขาด้านนอก    การจัดท่า   ผู้ถูกนวด   นอนตะแคงเข่าคู้  ๙๐๐ ผู้นวด  นั่งคุกเข่าคู้  เข่าด้านใกล้ตัวผู้ถูกนวดอยู่ตรงระดับเอวผู้ถูกนวด

วิธีการนวด

๑.      คว่ำมือ  วางนิ้วหัวแม่มือคู่  (ชี้เข้าหาตัวผู้นวด)  กด  ส.๑  ขาด้านนอก
ลงบนจุดสูงสุดของสะโพกที่เริ่มตก  (จุดสลักเพชร-จุดตัดระหว่างแนวกึ่งกลางขาด้านข้างท่อนบน
กับแนวกึ่งกลางลำตัว)  ซึ่งจะต้องอยู่สูงกว่าหัวตะคากเสมอ
๒.    หงายมือ  วางนิ้วหัวแม่มือคู่  กด  ส.๒  ขาด้านนอก  ชิดหัวตะคาก
(จุดตัดระหว่างแนวด้านหน้าขาด้านข้างท่อนบน  กับแนวเส้นข้างลำตัว)
๓.     เลื่อนตัวให้นั่งเฉียง  ๔๕ กับแนวสะโพกของผู้ถูกนวด  คว่ำมือ  วางนิ้วหัวแม่มือคู่
กดบน  ส.๓  ขาด้านนอก  คือ  จุดกึ่งกลางกล้ามเนื้อสะโพก
(รอยบุ๋มของข้อต่อกระดูกสะโพกกับขาท่อนบน)  เป็นรอยตัดระหว่างแนวของขาด้านนอก
กับแนวลำตัวด้านนอก  (ไม่นิยมกด  X  เพราะเจ็บมาก)
๔.     คว่ำมือ  (ข้างไกลผู้ถูกนวด)  ใช้นิ้วหัวแม่มือ  กดบน  ส.๔  ขาด้านนอก  คือ
กล้ามเนื้อด้านข้างขาท่อนบนเหนือเข่า  (๑ / ๒  ของช่วงเข่าถึงสะโพก)  ชิดเส้นเอ็นใต้ข้อพับเข่า
๕.     จัดให้ขาข้างเข่าคู้  ๙๐ ขนานกับขาอีกข้าง  หงายมือ  ใช้นิ้วหัวแม่มือคู่
กด  ส.๕  ขาด้านนอก  คือจุดสูงสุดของกล้ามเนื้อน่องด้านนอก
จุดตัดระหว่างส่วนกว้างที่สุดของกล้ามเนื้อน่องกับแนวตาตุ่มด้านนอก  ค่อนไปทางสันหน้าแข้ง

ตำแหน่งจุดสัญญาณขาด้านนอก


ชื่อตำแหน่งผลของการกด

ส.๑จุดสูงสุดของสะโพกที่เริ่มตก-จ่ายความร้อนไปทั่วขาด้านนอกถึงปลายเท้า-แก้ ลมปราบที่ขาด้านนอก  ขาชา  ขาลีบ-ช่วยแก้โรคเกี่ยวกับสะโพก  เช่น  ขัดสะโพก  ข้อต่อสะโพกเสื่อม  อัมพาต

ส.๒ชิดหัวตะคาก-จ่ายความร้อนเข้าหัวต่อกระดูกสะโพก  ออกต้นขาและปลีน่อง-แก้ขัดสะโพก  หัวต่อกระดูกและเบ้าสะโพกอักเสบโรคเกี่ยวกับหมอนรองกระดูก  ส.๓-ช่วยแก้โรคหมอนรองกระดูก  ส.๑  ช่วยแก้อัมพาตขา  ข้อต่อสะโพกเสื่อม -ช่วยในกรณีผลักกระดูกสะโพกให้เข้าที่
-ห้ามกดในรายที่ผู้ป่วยเป็นอัมพาต  เหยียดคู้  งอขาไม่ได้  เพราะจะทำให้กระดูกสะโพกเคลื่อนมากขึ้น

ส.๓กึ่งกลางกล้ามเนื้อสะโพก-บังคับเลือดและความร้อนเข้าหัวต่อกระดูก สะโพกและเชิงกราน-แก้กระดูกสะโพกเคลื่อนให้เข้าที่  แก้มดลูกอักเสบ  หมอนรองกระดูกหลัง  ส.๑-ช่วยแก้โรคหมอนรองกระดูกหลัง  ส.๓  ข้อสะโพกเสื่อม  อัมพาตขา -ใช้ตรวจกรณีกระดูกสะโพกเคลื่อนว่าเข้า ที่แล้วหรือยังการอักเสบของมดลูกและเชิงกราน  มดลูกเคลื่อน  มดลูกไม่เข้าอู่  (หากผิดปกติ  ส.  นี้จะแข็งมากและมีความร้อน)

ส.๔เหนือเข่า  (๑ / ๓  ของช่วงเข่าถึงสะโพก)-จ่ายความร้อนเข้าหัวต่อเข่าและลูกสะบ้า-แก้ กล้ามเนื้อขาด้านนอกอักเสบ  หรือฉีกขาด-ช่วยแก้โรคเกี่ยวกับเข่า  เช่น  จับโปง  ลำบอง  เข่าเคลื่อน  เข่าอักเสบ  สะบ้าบิน  สะบ้าจม

ส.๕จุดสูงสุดของกล้ามเนื้อน่องแนวตาตุ่มด้านนอก(จุดที่กล้ามเนื้อน่องใหญ่ที่สุด)-บังคับเลือดและความร้อนไปข้อเท้าและหลังเท้า-แก้ขาลีบ  ตะคริวปลายเท้า-ช่วยแก้อัมพาต  สันนิบาตตีนตก -ใช้ในการตรวจขาลีบ  ว่าจะรักษาให้กลับเป็นปกติได้หรือไม่  (ถ้า  ส.๕  ขาด้านนอกเล็กกว่าก้านไม้ขีด  จะแก้กลับคืนไม่ได้)

การนวดพื้นฐานขาด้านใน







การจัดท่า
ผู้ถูกนวด   นอนตะแคงคู้เข่า  ๙๐ผู้นวด นั่งคุกเข่าคู้  หันเข้าหาผู้ถูกนวดวิธีการนวด ๑.  หงายมือ  วางนิ้วหัวแม่มือคู่  กดลงบนแนวกึ่งกลางขาด้านในท่อนบน
ห่างจากโคนขาประมาณ  ๒  นิ้วมือ  กดเรียงลักษณะนิ้วต่อนิ้วจนถึงเหนือพับเข่าประมาณ  ๒  นิ้วมือ
๒.  คว่ำมือ  วางนิ้วหัวแม่มือ  (ข้างไกลผู้ถูกนวด)  กดบริเวณกึ่งกลางใต้ข้อพับเข่า
๓.  คว่ำมือ  วางนิ้วหัวแม่มือ  (ข้างไกลผู้ถูกนวด)  ชิดกล้ามเนื้อกระดูกสันหน้าแข้งด้านใน
ให้ปลายนิ้วชี้ไปทางศีรษะผู้ถูกนวด  กดนวดจากใต้หัวเข่าเรียงไปจนถึงข้อเท้า
ข้อควรระวัง
๑.      ในกรณีที่มีการฉีกขาดของมัดกล้ามเนื้อ  ควรกดด้วยความระมัดระวัง
หรืออยู่ในความควบคุมของผู้ชำนาญ
๒.    บริเวณขาท่อนล่าง  ชิดกระดูกสันหน้าแข้งด้านใน  ไม่ควรกดแรง  เพราะอาจทำให้เส้นประสาทชา  ทำให้กระดกข้อเท้าไม่ได้
การกดจุดสัญญาณขาด้านใน
การจัดท่า
ผู้ถูกนวด                นอนตะแคงคู้เข่า  ๙๐
ผู้นวด                     นั่งคุกเข่าคู้  หันเข้าหาผู้ถูกนวด
วิธีการนวด
๑.      หงายมือ  วางนิ้วหัวแม่มือคู่  กด  ส.๑  ขาด้านใน  ลงบนขาท่อนบนชิดกระดูกข้อสะโพก
ชิดก้นย้อย  (ไม่นิยม  X  เพราะเจ็บมาก  เป็นจุดที่ไม่อยู่ในเส้นพื้นฐาน)
๒.    วางนิ้วหัวแม่มือคู่  กด  ส.๒  ขาด้านใน  ลงบนตำแหน่งกึ่งกลางของขาด้านในท่อนบน
ห่างจากจุดที่  ๑  ประมาณ  ๒  นิ้วมือ  (จุดเดียวกับจุดเริ่มต้นการนวดพื้นฐานขาด้านในท่อนบน)
ไม่นิยม  X  เพราะเจ็บมาก
๓.     วางนิ้วหัวแม่มือคู่  กด  ส.๓  ขาด้านใน  ลงบนตำแหน่งเหนือเข่า  (๑ / ๓  ของช่วงเข่าถึงก้นย้อย)  แนวขอบสะบ้า
๔.     คว่ำมือ  วางนิ้วหัวแม่มือ  (ข้างไกลผู้ถูกนวด)  กด  ส.๔  ขาด้านใน  บริเวณกึ่งกลางใต้ข้อพับเข่า
๕.     คว่ำมือ  วางนิ้วหัวแม่มือ  (ข้างไกลผู้ถูกนวด)  ให้ปลายนิ้วชี้เข้าหาตัวผู้นวด
กด  ส.๕  ขาด้านในบริเวณร่องใต้ตาตุ่มด้านใน  นิ้วที่เหลือผลักปลายเท้าผู้ถูกนวดให้ตั้งฉาก
ตำแหน่งจุดสัญญาณขาด้านใน
 ชื่อ
ตำแหน่ง
ผลของการกด
ส.๑ชิดกระดูกข้อสะโพก  ชิดก้นย้อย-จ่ายความร้อนเข้าหัวต่อกระดูกสะโพก  หมอนรองกระดูกสันหลัง-แก้อาการขัดสะโพก  โรค  ส.๓  หลัง  เช่น  ลำปอง  ลมปลายปัตคาต-ช่วยเกี่ยวกับโรคในท้องและอุ้งเชิงกราน  เช่น  มดลูกด่ำ  ดานเลือด  ดานลม
ส.๒แนวกึ่งกลางขาท่อนบน  ห่างจากจุดที่  ๑  ประมาณ  ๒  นิ้วมือ-จ่ายความร้อนไปทั่วขาทั่วไป-แก้โรคปราบที่ขา  กล้ามเนื้อขาฉีกหรืออักเสบ  โรคหมอนรอง
“จุดจอมประสาท”  เป็นจุดตัดระหว่างเส้นแสกหน้ากับเส้นลากระหว่างยอดใบหูทั้ง  ๒  ข้าง
 (กระหม่อมหน้า  ปกติมักจะปิดเมื่ออายุ  ๒  ปี)  ให้ใช้หน้านิ้วกด  จะจ่ายพลังเข้าระบบสมอง
ออกหัวคิ้ว  แสกหน้า  บริเวณหน้าผาก  คาง  และฟัน  จะมีอาการรู้สึกตื้อ ๆ
ตามแนวกดเข้าไปด้านในสมอง  (ขณะกดควรควรยืนก้าวเท้าข้างใดข้างหนึ่งล้ำไปด้านหน้า  ๑  ก้าว

ข้อมูลจาก nuadthai1.wordpress

การนวดพื้นฐานท้อง

การนวดพื้นฐานท้อง

๑.      การนวดท่าแหวก
-นั่งคุกเข่าคู้  หันเข้าหาผู้ถูกนวด  ใช้ข้อที่  ๒  ของนิ้วกลางมือ  (ข้างไกลผู้ถูกนวด)
แตะหัวตะคาก  กดเฉียง  ๔๕๐ กับแนวสะดือ  ดันปลายนิ้ว  (นิ้วชี้,  นิ้วกลาง,  และนิ้วนาง)
เข้าหาหัวตะคากของผู้ถูกนวด
-เลื่อนมือขวางลำตัวผู้ถูกนวด  ให้ปลายนิ้วกลางห่างจากเส้นกึ่งกลางลำตัว  ๑  นิ้วมือ
ต่ำกว่าสะดือ  ๑  นิ้วมือ  กดนิ้วมือลงแนวดิ่ง  (ไม่ใช้ปลายนิ้วกด)
-วางมือให้นิ้วกลางแตะกึ่งกลางลำตัว  เหนือสะดือ  ๑  นิ้วมือ  กดนิ้วมือลงแนวดิ่ง  (ไม่ใช้ปลายนิ้ว)
เลื่อนมือ  กดจุดที่  ๔,  ๕  และ  ๖  ตามแนวเดิม  ห่างจากจุดก่อนหน้า  ๑  นิ้วมือ
(จุดที่  ๖  อยู่บริเวณใต้ลิ้นปี่)
-นวดท่าแหวก  รอบที่  ๒  และ  ๓  ย้อนไป – มาได้
๒.    การนวดท่านาบ  (นวดต่อจากท่าแหวก)
-นั่งคุกเข่าคู้  หันหน้าไปทางศีรษะผู้ถูกนวด  วางมือ  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)
ให้ปลายนิ้วกลางอยู่เส้นกึ่งกลางลำตัว  ใต้ลิ้นปี่  โดยไม่ให้นิ้วชี้และนิ้วนางกดบนกระดูกซี่โครง
กดนิ้วมือลงแนวดิ่ง  (ไม่ใช้ปลายนิ้วกด)
-เลื่อนมือ  ให้นิ้วนางชิดแนวกึ่งกลางลำตัว  ต่ำจากจุดที่  ๑  ประมาณ  ๑  นิ้วมือ
นิ้วชี้ต้องไม่กระดูกซี่โครง    กดในลักษณะเดียวกับข้อ  ๑
-เลื่อนมือ  กดจุดที่  ๓  และ  ๔  ตามแนวเดิม  ห่างจากจุดก่อนหน้า  ๑  นิ้วมือ
-เลื่อนมือ  ให้นิ้วก้อยอยู่ชิดแนวกึ่งกลางลำตัว  ต่ำกว่าสะดือ  ๑  นิ้วมือ  กดในลักษณะเดียวกับข้อ  ๑
-เฉียงมือ  ๔๕ ให้ข้อที่  ๒  ของนิ้วกลางแตะหัวตะคาก
กดโดยดันปลายนิ้วเข้าหาหัวตะคากของผู้ถูกนวด
-นวดท่านาบ  รอบที่  ๒  และ  ๓  โดยเริ่มจากใต้ลิ้นปี่มาตาลำดับ
(ไม่นวดย้อนกลับไป-มา  เหมือนท่าแหวก)
๓.     นวดตามขั้นตอนท่าแหวกในข้อ  ๑.  และท่านาบในข้อ  ๒.  อีกด้านหนึ่ง
๔.     การเปิดประตูลมท้อง  ผู้นวดเข้าทางด้านซ้ายข้องผู้ถูกนวด  นั่งคุกเข่าคู้  หันหน้าเข้าหาผู้ถูกนวด
ใช้มือซ้ายกางนิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือ  ๑๘๐ วางนิ้วชิดกระดูกซี่โครงซี่สุดท้ายของทั้งสองข้าง
วางสันมือขวาทาบต่อจากแนวมือซ้าย  (ด้านหลัง)  ยกมือซ้ายออก
กดโน้มน้ำหนักลงบนสันมือขวาจนพบจุดชีพจร
๕.     จับชีพจรที่ข้อมือซ้ายของผู้ถูกนวด  ถ้าปกติดีแล้วให้ผู้ถูกนวดพลิกตัวไปมา
เพื่อให้เลือดกระจายทั่วตัว  แล้วจึงตะแคงตัวลุกขึ้นได้

ข้อปฏิบัติที่พึงระวังในการนวด

๑.      ก่อนนวดต้องให้คนไข้ปัสสาวะให้เรียบร้อย
๒.    จัดท่านอนหงายราบ  ห้ามใช้แขนหนุนศีรษะ
๓.     ในกรณีที่ผู้ถูกนวดกล้ามเนื้อหน้าท้องมากหรือแข็ง  ต้องให้ผู้ถูกนวดชันเข่าทั้ง  ๒  ข้าง

การกดจุดสัญญาณท้อง

วิธีการนวด

๑.      คว่ำมือ  (ข้างไกลผู้ถูกนวด)  ปลายนิ้ว  (ชี้,  กลาง,  นาง)  กด  ส.๑  ท้อง
ตำแหน่งที่  ๑  ของการนวดท่าแหวกด้านขวา
๒.    คว่ำมือ  (ข้างไกลผู้ถูกนวด)  ปลายนิ้ว  (ชี้,  กลาง,  นาง)  กด  ส.๒  ท้อง
ตำแหน่งที่  ๑  ของการนวดท่าแหวกด้านซ้าย
๓.     คว่ำมือ  (ข้างไกลผู้ถูกนวด)  ให้นิ้วชี้แตะกระดูกซี่โครงซี่สุดท้ายด้านขวา
ปลายนิ้วกลางแตะกึ่งกลางลำตัว  กด  ส.๓  ท้อง  นิ้วมือลงแนวดิ่ง  (เหนือสะดือ)
๔.     คว่ำมือ  (ข้างไกลผู้ถูกนวด)  ให้นิ้วชี้แตะกระดูกซี่โครงซี่สุดท้ายด้านซ้าย
ปลายนิ้วกลางแตะกึ่งกลางลำตัว  กด  ส.๔  ท้อง  นิ้วมือลงแนวดิ่ง  (เหนือสะดือ)
๕.     ผู้นวดเข้าทางด้านซ้ายของผู้ถูกนวดนั่งคุกเข่าคู้  หันเข้าหาผู้ถูกนวด
ใช้มือซ้ายกางนิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือ  ๑๘๐ วางนิ้วชิดกระดูกซี่โครงซี่สุดท้ายของทั้งสองข้าง
วางสันมือขวาทาบต่อจากแนวมือซ้าย  (ด้านหลัง)  ยกมือซ้ายออก
 กดโน้มน้ำหนักลงบนสันมือขวาจนพบจุดชีพจร  (ส.๕  ท้อง  เหนือสะดือประมาณ  ๒  นิ้วมือ)

ตำแหน่งจุดสัญญาณท้อง

ชื่อ
ตำแหน่ง

ผลของการกด

ส.๑ตำแหน่งที่  ๑  ของการนวดท้องท่าแหวกด้านขวา-จ่ายความร้อนเข้าอุ้งเชิงกรานด้านขวาออกหน้า ขา  เข้าท้องน้อย-แก้โรคเกี่ยวกับมดลูก  เช่น  มดลูกด่ำ  มดลูกลอย  มดลูกตะแคงต่ำ  ดานเลือด  และ  โรคเกี่ยวกับองคชาติ  ปรับสมดุลประจำเดือน -ช่วยแก้โรคเกี่ยวกับ  ส.๑,  ๓  หลัง  ในบางกรณี
ส.๒ตำแหน่งที่  ๑  ของการนวดท้องท่าแหวก  ด้านซ้าย-จ่ายความร้อนเข้าอุ้งเชิงกรานด้านซ้าย  ออกหน้าขา  เข้าท้องน้อย-แก้โรคเกี่ยวกับมดลูก  เช่น  มดลูกด่ำ  มดลูกลอย  มดลูกตะแคงต่ำ  ดานเลือด  และโรคเกี่ยวกับองคชาติ  ปรับสมดุลประจำเดือน -ช่วยแก้โรคเกี่ยวกับ  ส.๑,  ๓  หลัง  ในบางกรณี
ส.๓เหนือสะดือด้านขวา  ๑  นิ้ว  (โคนนิ้วชี้แตะชายโครงซี่สุดท้าย  กางมือให้ปลายนิ้วกลางแตะกึ่งกลางท้อง)-จ่ายความร้อนออกหลังและบั้นเอวด้านขวา  และกระเบนเหน็บข้างขวา-แก้ยอกหลัง  โรคดานลม  เถาดาน  พรรดึก -ช่วยแก้โรคเกี่ยวกับ  ส.๑,  ๓  หลังในบางกรณี
ส.๔เหนือสะดือด้านซ้าย  ๑  นิ้ว  (โคนนิ้วชี้แตะชายโครงซี่สุดท้าย  กางมือให้ปลายนิ้วกลางแตะกึ่งกลางท้อง)-จ่ายความร้อนออกหลังและบั้นเอวด้านซ้าย  และกระเบนเหน็บข้างซ้าย-แก้ยอกหลัง  โรคดานลม  เถาดาน  พรรดึก -ช่วยแก้โรคเกี่ยวกับ  ส.๑, ๓  ในบางกรณี
-จ่ายความร้อนออกหลังและบั้นเอวด้านซ้าย  และกระเบนเหน็บข้างซ้าย
-แก้ยอกหลัง  โรคดานลม  เถาดาน  พรรดึก
-ช่วยแก้โรคเกี่ยวกับ  ส.๑,  ๓  หลัง  ในบางกรณี
ส.๕เหนือสะดือด้านซ้าย  ๒  นิ้ว  (ผู้นวดต้องเข้าด้านซ้ายของผู้ถูกนวดเสมอ  เพราะเส้นเลือดแดงบริเวณท้องอยู่ค่อนไปทางด้านซ้าย)-จ่ายความร้อนออกทั่วท้อง  (ออกเส้นสุมนา)  เข้าไขสันหลังออกก้นกบ  ออกขาทั้ง  ๒  ข้าง-ช่วยปรับสมดุลระบบการไหลเวียนให้ดีขึ้นทั่วร่างกาย -ห้ามกดในรายที่เป็นอัมพาตใหม่ ๆ  จะทำให้เสมหะมากขึ้นเรียกว่า  “ชิวหาสดมภ์”  อาจจะทำให้เสียชีวิตก็ได้
หมายเหตุ
-ในรายที่อ้วนหรือมีกล้ามเนื้อหน้าท้องมาก  ให้ผู้ถูกนวดชันเข่าทั้ง  ๒  ข้าง  ขณะนวดท้อง
-ในสมัยโบราณ  จะนวดตอนตอนเช้า  หลังจากตื่นนอน  เข้าห้องน้ำแล้ว  ก่อนรับประทานอาหาร
แต่ในปัจจุบันไม่สะดวก  จึงนวดทุกเวลา  ยกเว้นหลังรับประทานอาหารอิ่มใหม่ ๆ  หรือหิวจัด
(อย่างน้อย  ๑ / ๒  ชั่วโมง)
ข้อควรระวัง
๑. ไม่ควรนวดรอบสะดือ  ต้องห่างอย่างน้อย  ๑  นิ้วมือ
๒. ห้ามกดบริเวณลิ้นปี่  (ทำให้จุกเสียดได้)  และชายโครง  (ทำให้กระดูกซี่โครงหักและทิ่มแทงอวัยวะภายในได้)
๓. ห้ามนวดในกรณีที่มีโรคประจำตัว  เช่น  มะเร็งตับ  มะเร็งลำไส้
๔. ไม่นวดในขณะที่อิ่มใหม่ ๆ  หรือหิวจัด
๕. ควรระวังในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง

ข้อมูลจาก nuadthai1.wordpress

การนวดพื้นฐานขา

การนวดพื้นฐานขา

๑. การนวดพื้นฐานขา
๒. การนวดพื้นฐานขาด้านนอก
๓. การนวดพื้นฐานขาด้านใน

การนวดพื้นฐานขา

ผู้นวดนั่งคุกเข่าห่างจากปลายเท้าผู้ถูกนวดประมาณ  ๔  ศอก  เดินเข่าท่าเคารพเข้าหาผู้ถูกนวด
(ย่างสามขุม)  เมื่อถึงกึ่งกลางเข่าของผู้ถูกนวด  นั่งพับเพียบ  (ปลายเท้าชี้ไปทางด้านปลายเท้าผู้ถูกนวด)  ห่างจากผู้ถูกนวด  ๑  ศอก  (๑  หัตถบาท)
-ใช้นิ้วชี้  นิ้วกลาง  นิ้วก้อย  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)  จับชีพจรที่ข้อมือ  (ลมเบื้องสูง)
-ใช้นิ้วชี้  นิ้วกลาง  นิ้วก้อย  (ข้างไกลผู้ถูกนวด)  จับชีพจรที่หลังเท้าแนวนิ้วหัวแม่เท้า  (ลมเบื้องต่ำ)  ปกติจะต้องเท่ากัน  (ข้อมือเร็วกว่าหลังเท้าประมาณ  ๐.๒  วินาที)  ถ้าไม่เท่ากันแสดงว่าเลือดลมเดินไม่สะดวก
การนวดอาจทำให้เกิดการช็อกได้

การจัดท่า
ผู้ถูกนวด           นอนหงาย
ผู้นวด               นั่งพับเพียบ  ปลายเท้าชี้ทางปลายเท้าผู้ถูกนวด
วิธีการนวด
๑.      คว่ำมือ  วางนิ้วหัวแม่มือ  (ข้างไกลผู้ถูกนวด)  กดเฉียง  ๔๕๐ ชิดกระดูกสันหน้าแข้ง
ใต้สะบ้า  ๒  นิ้วมือ  (นาคบาทจุดที่  ๑)  และให้นิ้วที่เหลือประคองบนหน้าแข้ง
๒.    เลื่อนมือในลักษณะเดิม  ห่างจากจุดที่  ๑  ประมาณ  ๑  ข้อนิ้วมือ  (นางคบาทจุดที่  ๒)
๓.     หงายมือ  วางนิ้วหัวแม่มือคู่กดแนวกล้ามเนื้อชิดกระดูกสันหน้าแข้งต่อเนื่องจากจุด ที่  ๒
ลักษณะนิ้วต่อนิ้วไปจนถึงข้อเท้า  ให้นิ้วที่เหลือประคองอยู่บริเวณกล้ามเนื้อน่อง
๔.     หงายมือ  วางนิ้วหัวแม่มือคู่กดแนวกลางกล้ามเนื้อขาท่อนบนเหนือเข่า  ๒  นิ้วมือ
ลักษณะนิ้วต่อนิ้วไปจนถึงกระดูกหัวตะคาก
๕.     คว่ำมือ  ให้ปลายนิ้วก้อยแตะบริเวณหัวตะคาก  (เปิดปลายนิ้วขึ้นเล็กน้อยเพื่อความสุภาพ)
วางนิ้วหัวแม่มือคู่กดร่องกล้ามเนื้อต้นขาด้านข้าง  แนวหัวตะคากไปจนถึงข้อเท้า
โดยเว้นบริเวณเหนือเข่าและใต้เข่า  ๒  นิ้วมือ
๖.      นวดคลายหลังเท้า  โดยใช้นิ้วหัวแม่มือกดลงบนหลังเท้าแล้วรีดจากนิ้วก้อยไปหานิ้วหัวแม่เท้าของ ผู้ถูกนวดประมาณ  ๔  เส้น  เพื่อกระจายเลือดออกสู่เท้า
๗.     ผลักปลายเท้าผู้ถูกนวดออกด้านนอก  (หงายเท้า)  เพื่อเป็นการเปิดเส้นประตูลมให้ลอยขึ้น
หันหน้าไปทางศีรษะผู้ถูกนวด  คลานเข่าในท่าเคารพให้เข่าเสมอแนวหัวตะคาก  เปิดประตูลม
หมายเหตุ
จุดที่  ๑,  ๒  ของเส้นพื้นฐานขาท่านอน  เรียกว่า  “จุดนาคบาท”  ใช้แก้อาการชักในเด็ก
ข้อควรระวัง
๑.      ในกรณีที่มีการแตก  หัก  ร้าวของกระดูก  ไม่ควรนวด
๒.    ในกรณีที่มีการฉีกขาดของมัดกล้ามเนื้อบริเวณขาท่อนบน  ไม่ควรนวด
๓.     ด้านข้างของกระดูกสันหน้าขาด้านในและด้านนอก  ไม่ควรกดแรง  เพราะจะมีระบบเส้นประสาท
ที่ใช้ในการกระดกข้อเท้าขึ้นลง  ถ้ากดแรงอาจทำให้เส้นประสาทชา  ข้อเท้าอาจกระดกขึ้นลงไม่ได้
ก่อนทำการเปิดประตูลม  จะต้องนวดคลายหลังเท้า  แล้วหงายเท้าออกเพื่อให้เส้นประตูลมลอยสูงขึ้น

การเปิดประตูลม
การจัดท่า
ผู้ถูกนวด                นอนหงาย
ผู้นวด                     นั่งคุกเข่าคู้  ข้างลำตัว  ระดับเอวของผู้ถูกนวด  หันหน้าไปทางศีรษะของผู้ถูกนวด
วิธีการนวด
๑.      ผลักปลายเท้าคนไข้ออกด้านนอก  วางมือ  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)
ให้ปลายนิ้วก้อยแตะที่หัวตะคากเฉียงมือเป็นมุม  ๔๕๐ มืออีกข้างอยู่ในท่าเคารพ
๒.    ลงน้ำหนักโดยการโน้มตัวกดลงไป  กดนานประมาณ  ๒๐-๔๕  วินาที  แล้วจึงค่อย ๆ  ยกมือขึ้นช้า ๆ

ข้อควรระวัง

๑. ไม่ควรลงน้ำหนักมากเกินไปในการเปิดประตูลม  เพราะบริเวณนี้มีหลอดเลือดใหญ่ที่ไปเลี้ยงส่วนขา
๒. ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับข้อต่อสะโพก  เช่น  เคลื่อนหรืออักเสบ  ไม่ควรกดแรง
การกดจุสัญญาณหัวเข่าและข้อเท้า

ท่านั่งพับเพียบ
ท่าไขว้มือ
ท่านั่งผู้นวดพับเพียบ  หันเข้าผู้ถูกนวดนั่งคุกเข่า  หันหน้าไปทางศีรษะผู้ถูกนวด
ส.๑  หัวเข่าหงายมือ  วางนิ้วหัวแม่มือคู่  กดชิดขอบสะบ้าด้านนอกคว่ำมือ  (ข้าใกล้ผู้ถูกนวด)  ใช้นิ้วนิ้วหัวแม่มือ  กดชิดขอบสะบ้าด้านนอก
ส.๒  หัวเข่าหงายมือ  วางนิ้วหัวแม่มือคู่  กดชิดขอบสะบ้าด้านในคว่ำมือ  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)  ใช้นิ้วนิ้วหัวแม่มือ  กดชิดสะบ้าด้านใน
ส.๓  หัวเข่าคว่ำมือ  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)  ใช้นิ้วหัวแม่มือกดจุดน้ำเต้าตก(จุดกึ่งกลางใต้ขอบสะบ้า)อีก  ๔  นิ้วประคองที่สันหน้าแข้งด้านในคว่ำมือ  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)  ใช้นิ้วหัวแม่มือกดจุดน้ำเต้าตก  (จุดกึ่งกลางใต้ขอบสะบ้า) อีก  ๔  นิ้วประคองที่สันหน้าแข้งด้านใน
การนวดสัญญาณข้อเท้า
๑.      นั่งคุกเข่าที่ปลายเท้าผู้ถูกนวด  ตั้งเข่าด้านอกยันฝ่าเท้าผู้ถูกนวดไว้
๒.    วางนิ้วหัวแม่มือคู่  กดบนรอยพับข้อเท้า  พร้อมทั้งใช้เข่าดันฝ่าเท้าเข้าหาตัวผู้ถูกนวด
ให้ทิศแรง  การกดออกไปทางส้นเท้า

การนวดพื้นฐานขาด้านนอก

การจัดท่า
ผู้ถูกนวด               นอนตะแคงเข่าคู้  ๙๐
ผู้นวด                     นั่งคุกเข่าคู้  เข่าด้านใกล้ตัวผู้ถูกนวดอยู่ตรงระดับเอวผู้ถูกนวด

วิธีการนวด

๑.      คว่ำมือ  วางนิ้วหัวแม่มือคู่  (ชี้เข้าหาตัวผู้นวด)  กดลงบนจุดสูงสุดของสะโพกที่เริ่มตก
(จุดสลักเพชร-จุดตัดระหว่างแนวกึ่งกลางขาด้านข้างท่อนบน  กับแนวกึ่งกลางลำตัว)
ซึ่งจะต้องอยู่สูงกว่าหัวตะคากเสมอ
๒.    หงายมือ  วางนิ้วหัวแม่มือคู่  กดชิดหัวตะคาก  (จุดตัดระหว่างแนวด้านหน้าขาด้านข้างท่อนบน
กับแนวเส้นข้างลำตัว)
๓.     เลื่อนตัวให้นั่งเฉียง  ๔๕๐ กับแนวสะโพกของผู้ถูกนวด  คว่ำมือ  วางนิ้วหัวแม่มือคู่
กดบนจุดกึ่งกลางกล้ามเนื้อสะโพก  (รอยบุ๋มของข้อต่อกระดูกสะโพกกับขาท่อนบน)
 เป็นรอยตัดระหว่างแนวของขาด้านนอกกับแนวลำตัวด้านนอก
๔.     คว่ำมือ  (ข้าไกลผู้ถูกนวด)  วางนิ้วหัวแม่มือ  กดคลายกล้ามเนื้อขาท่อนบนด้านนอก
จนถึงเหนือเข่า  (กดแล้วยกกล้ามเนื้อขึ้นเล็กน้อย)
๕.     จัดให้ขาข้างเข่าคู้  ๙๐ ขนาดกับขาอีกข้าง  หงายมือ  วางนิ้วหัวแม่มือคู่
กดบนจุดตัดระหว่างส่วนกว้างที่สุดของกล้ามเนื้อน่องกับ แนวตาตุ่มด้านนอก
ค่อนไปทางสันหน้าแข้ง  แนวตาตุ่มด้านนอก  เรียกว่า  “เส้นชงค์ประพาส”  จนถึงข้อเท้า

การกดจุดสัญญาณขาด้านนอก

ส.๓เหนือเข่า(๑/๓  ของช่วงเข่าถึงก้นย้อยแนวขอบสะบ้า  เป็นรอยบุ๋มของกล้ามเนื้อต้นขาด้านใน)-จ่ายความร้อนเข้าเข่า-ช่วยแก้โรคที่เกิดกับเข่า  น้ำในข้อแห้ง  เช่น  จับโปง  ลำบอง  เข่าเคลื่อน -จุดนี้ไม่ต้องกดแรง  เพราะถ้ากดแรง  เขาจะไม่มีแรง
ส.๔กึ่งกลางใต้ข้อพับเข่า-บังคับเลือดและความร้อนเข้าสะบ้าเข่า-แก้ข้อเข่าเคลื่อน  โรคเกี่ยวกับเข่า  จับโปง  ลำบอง -ช่วยเกี่ยวกับโรคลูกสะบ้า  เช่น  สะบ้าบิ่น  สะบ้าจม
-ถ้าเข่าไม่เข้าที่สนิท  สัญญาณจะไม่เต้น
ส.๕ร่องใต้ตาตุ่มด้านใน-บังคับเลือดและความร้อนเข้าข้อเท้า  ออกฝาเท้า-แก้โรคเกี่ยวกับข้อเท้า  เช่น  ข้อเท้าเคลื่อน  ข้อเท้าแพลง  ข้อเท้าอักเสบ  แก้อาการเกร็ง  หรือเป็นตะคริว  ตะคริวปลายเท้า -ช่วยแก้ลมขึ้นเบื้องสูง  (ความดันโลหิตสูง)  แก้ตะคริวเข้าท้อง  แก้ชักบางประเภท  (ลมบ้าหมู)  แก้หัวใจวายหรือสลบชั่วคราวได้
-ใช้ตรวจข้อเท้าหลุดหรือเคลื่อนที่  ถ้าไม่เข้าที่สัญญาณนี้จะไม่เต้น
เทคนิคการนวด  นอกจากใช้นิ้วคู่แล้วยังมีการใช้นิ้วหัวแม่มือกดซ้อนไขว้ (X)
หรือใช้ส้นมือกดทับนิ้วหัวแม้มือ
การนวดพื้นฐานท้อง

ท้องเป็นจุดกำเนิดของเส้นประธานทั้ง  ๑๐  เส้น  ซึ่งเป็นระบบควบคุมการทำงานของร่างกายท่านวดท้อง มีทั้งหมด ๖  ท่า ๑.      แหวก     เป็นการนวดทำให้เส้นท้องหย่อน
๒.    นาบ        เป็นการนวดทำให้สัญญาณชัดเจนขึ้น
๓.     โกย         เป็นการนวดช่วยเรื่องท้องผูก  เป็นพรรดึก  เถาดาน
๔.     ฝืน          เป็นการนวดเกี่ยวกับมดลูก  องคชาติ
๕.     กล่อม     เป็นการนวดในหญิงตั้งครรภ์  ระยะ  ๘-๙  เดือน  ช่วยระบบไหลเวียนเลือด
และป้องกันเด็กทับเส้น  ทำให้คลอดง่าย  จะไม่นวดในระยะตั้งครรภ์  ๓  เดือน  (เพราะทำให้แท้งง่าย)
และ  ๗  เดือน  (เด็กกำลังกลับหัว  อาจจะทำให้แท้งได้)
๖.      ข่ม          เป็นการนวดในขณะคลอด  หมดลมเบ่ง  เพื่อช่วยการคลอด
หมายเหตุ
การนวดท้องมักใช้ท่าแหวกคู่กับท่านาบเสมอ  โดยจะต้องนวดแหวกก่อนนาบเสมอ  เป็นการนวดพื้นฐานท้องก่อนทำการนวดท่าอื่นๆ  ทุกครั้ง
ประโยชน์
๑.  โรคลมตะกัง  (มีอาการปวดหัวเวลาเช้า ๆ  ปวดกระบอกตาเมื่อเห็นแดดจะลืมตาไม่ขึ้น)  ชนิดอาเจียน
๒.  ดานเลือด  (มักเกิดในผู้หญิง)  ดานลม  (มักเกิดในคนสูงอายุ)
๓.  มดลูกด่ำ  (มดลูกเคลื่อน  หรือกระบังลมหย่อน)
๔.  รักษาอาการยอกหลัง  ชนิดเดี่ยว  คู่  และพุทธยักษ์
๕.  โรคลำบอง  สัญญาณ  ๑,  ๓  หลัง
๖.  อาการหลังค่อม
๗.  อาการอัมพาตครึ่งซีก  ระยะแรกที่ลมเบื้องสูง-ต่ำ  ยังไม่สมดุล
๘.  ใช้ในการปรับสมดุลประจำเดือน
๙.  ใช้รักษาอาการสมรรถนะทางเพศเสื่อม
๑๐.รักษาโรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทช่วงเอว
การจัดท่า
ผู้ถูกนวด                นอนหงาย
ผู้นวด                     นั่งคุกเข่าคู้  หันหน้าเข้าหาผู้ถูกนวด
ขั้นตอนก่อนการนวดพื้นฐานท้อง
๑.      นวดพื้นฐานขา  เปิดประตูลมทั้ง  ๒  ข้าง
๒.    กดสัญญาณต่อไปนี้ให้ครบรอบทีละข้าง
-กดสัญญาณหลัง  ๑,  ๒,  ๓  (รอบสุดท้ายกดสัญญาณ  ๓, ๒, ๑)
-กดสัญญาณขาด้านนอก  ๑,  ๒,  ๓  จำนวน  ๓  รอบ
-กดสัญญาณขาด้านใน  ๑,  ๒  (ส้นมือ)

ข้อมูลจาก nuadthai1.wordpress

การนวดพื้นฐานหลัง

การนวดพื้นฐานหลัง

การจัดท่าผู้ถูกนวด                นอนตะแคงคู้เข่า  ๙๐๐ ผู้นวด                     นั่งคุกเข่าคู้ก้นลอย  หันหน้าเข้าหาหลังผู้ถูกนวด

วิธีการนวด

๑.      คว่ำมือ  (ข้างไกลผู้ถูกนวด)  กด  ส.๑  หลัง  โดยให้นิ้วก้อยแตะหัวตะคาก
กางนิ้วหัวแม่มือขนานกับนิ้วก้อย  วางปลายนิ้วหัวแม่มือชิดขอบกระดูกสันหลังช่วงเองข้อที่  ๕
(เส้นมหาสนุกระงับทำหน้าที่ปล่อยน้ำเชื้อ)
๒.    นิ้วชี้แตะที่เอวคอด  กางนิ้วหัวแม่มือให้ขนานกับนิ้วชี้  เลื่อนนิ้วหัวแม่มือ  กด  ส.๒  หลัง
บนแนวสันกล้ามเนื้อหลัง
๓.     เลื่อนนิ้วชี้แตะขอบกระดูกซี่โครงซี่สุดท้าย  กางนิ้วหัวแม่มือขนานกับนิ้วชี้
เลื่อนนิ้วหัวแม่มือชิดขอบกระดูกสันหลัง  กด  ส.๓  หลัง
๔.     วางนิ้วหัวแม่มือชิดขอบกระดูกสันหลัง  แนวขอบปีกสะบัก  กด  ส.๔  หลัง  (T1)
๕.     เลื่อนมือถัดขึ้นไปกด  ส.๕  หลัง  จุดชิดกระดูกต้นคอ  (C7)
ตำแหน่งจุดสัญญาณหลัง
ชื่อ
ตำแหน่ง

ผลของการกด

ส.๑ร่องชิดกระดูกสันหลังช่วงเอวข้อที่  ๕  (แนวกระดูกหัวตะคาก)  (L5)-  จ่ายความร้อนเข้าปล้องกระดูก  ส.๑  หลัง  ผ่านอุ้งเชิงกรานออกไปขาด้านนอก-  แก้เกี่ยวกับโรค  ส.๑  หลัง  แก้ปวดประจำเดือน -  ช่วยแก้เกี่ยวกับโรคในท้อง  และอุ้งเชิงกราน  เช่นมดลูกเคลื่อน  มดลูกอักเสบ  องคชาติ  ปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
ส.๒ห่างจากจุดที่  ๑  หนึ่งข้อนิ้วมือ  (แนวสันกล้ามเนื้อหลัง)-  จ่ายความร้อนเข้าท้อง-  แก้อาเจียน  แก้จุกเสียดแน่นท้อง  เมารถ  บรรเทาปวดท้องเนื่องจากไส้ติ่ง -  ช่วยแก้ธาตุไม่ปกติ  เช่น  ท้องอืด  ท้องเฟ้อ  อาหารไม่ย่อย
ส.๓ร่องชิดกระดูกสันหลัง  ระดับเดียวกับซี่โครงซี่สุดท้าย  (อยู่แนวเดียวกับจุดที่๑  ห่างจากจุดที่  ๒  ประมาณ  ๑  ข้อนิ้วมือ)-  จ่ายความร้อนเข้าปล้องกระดูก  ส.๓  ช่วยระบบไตออกไปขาด้านนอก-  แก้โรคเกี่ยวกับ  ส.๓  หลัง  แก้เสียวชาที่ขาและปลีน่อง - ช่วยแก้เกี่ยวกับการอักเสบระบบไตจากการถูกกระทบกระแทก  เช่น  นักมวยถูกแตะเหนือโดนเข่า
ส.๔ต่ำจากปุ่มกระดูกต้นคอประมาณ  ๑  ข้อนิ้วมือ  (T5)  แนวขอบปีกสะบักบน-  บังคับเลือดและความร้อนเข้าหน้าอก  ออกสะบักไปแขนด้านนอก-  แก้โรคเกี่ยวกับ  ส.๔  หลัง  เช่น  ปวดคอ  ชาลงไปแขนด้านนอกหอบเหนื่อย  นักกีฬาหายใจขัด  ขัดยอกหน้าอก  ช่วยระบบหายใจ  ช่วยบรรเทาอาการหอบหืด  ช่วยระบบหัวใจ  เช่น  ช่วยให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจดีขึ้น  ในกรณีเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ  หรือ  เส้นเลือดหัวใจตีบ  หายใจไม่เต็มอิ่ม  เป็นลม
ส.๕ชิดกระดูกต้นคอ  (C7)-  บังคับเลือดและความร้อนขึ้นศีรษะ  ส่งน้ำเลี้ยงขึ้นสมอง-  แก้โรคเกี่ยวกับ  ส.๕  หลัง  เช่น  ปวดคอ  ชาลงแขนด้านใน  แก้มึนงง  เวียนศีรษะ  ลมปะกัง  (ไมเกรน)  ปวดกระบอกตา
การนวดโค้งค
การจัดท่า
ผู้ถูกนวด                นั่งขัดสมาธิ
ผู้นวด                     นั่งท่าพรหมสี่หน้า  อยู่หลังผู้ถูกนวด  หันหน้าไปทางเดียวกับผู้ถูกนวด
วิธีการนวด
๑.ใช้มือข้างเดียวกับที่ตั้งเข่าประคองศีรษะด้านหน้า  ไขว้มือ  ใช้นิ้วหัวแม่มือกดกล้ามเนื้อคอตั้งแต่บริเวณฐานคอจนถึงท้ายทอย   (กดขึ้นเท่านั้น)
๒. สลับข้างทำเหมือนข้อ  ๑.

ข้อมูลจาก nuadthai1.wordpress

การนวดพื้นฐานแขน

การนวดพื้นฐานแขน
๑. พื้นฐานแขนด้านนอก
-การนวดพื้นฐานแขนด้านนอกท่านั่ง 
-การนวดพื้นฐานแขนด้านนอกท่านอน
๒.  พื้นฐานแขนด้านใน
-การนวดพื้นฐานแขนด้านในท่านั่ง
-การนวดพื้นฐานแขนด้านในท่านอน

การนวดพื้นฐานแขนด้านนอกท่านั่ง
ประโยชน์คือ  ช่วยเหลือคนไข้ที่เป็นอัมพาตแขน  แขนอ่อนแรง
เป็นการส่งเลือดไปเลี้ยงแขนด้านนอก  แก้อาการชาบริเวณแขน
การจัดท่า
ผู้ถูกนวด        นั่งขัดสมาธิ  หรือนั่งห้อยขา
ผู้นวด             นั่งท่าพรหมสี่หน้า  (ตั้งเข่าข้างใกล้ผู้ถูกนวด)  หันหน้าไปทางเดียวกับผู้ถูกนวด

วิธีการนวด
๑.      นวดได้  ๓  วิธี  คือ
-ท่าคว่ำมือ  :  ควำมือ  ใช้นิ้วหัวแม่มือ  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)
กดลงตรงกึ่งกลางแขนท่อนบนด้านนอก  (บริเวณจุดสิ้นสุดของกล้ามเนื้อต้นแขนด้านนอก)
-ท่าหงายมือ  :  หงายมือใช้นิ้วหัวแม่มือ  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)
กดลงตรงกึ่งกลางแขนท่อนบนด้านนอก
-ท่าไขว้มือ  :  มือด้านใน  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)  จับข้อมือผู้ถูกนวด
ไขว้มือด้านนอก  (ข้างไกลผู้ถูกนวด)  คว่ำมือ
ใช้นิ้วหัวแม่มือกดลงตรงกึ่งกลางแขนท่อนบนด้านนอก
๒.  หงายมือ  ใช้นิ้วหัวแม่มือคู่  หรือนิ้วเดียว  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)
 กดตามแนวนิ้วกลาง  เริ่มจากใต้ข้อศอกไปจนถึงบริเวณเหนือข้อมือ

การนวดพื้นฐานแขนด้านนอกท่านอน
การจัดท่า
ผู้ถูกนวด                นอนหงาย
ผู้นวด                     นั่งคุกเข่าคู้  ๙๐๐ หันหน้าไปทางศีรษะผู้ถูกนวด
วิธีการนวด
๑.      คว่ำมือ  ใช้นิ้วหัวแม่มือ  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)
กดบนกึ่งกลางแขนท่อนบนด้านนอก  (แนวตกของกล้ามเนื้อต้นแขน  (Deltoid) )
 แล้วกดจุดที่  ๒-๔  ต่อเนื่องกันโดยให้ห่างจากจุดเดิม  ลักษณะนิ้วต่อนิ้ว
๒.    หันหน้าเข้าหาผู้ถูกนวด  หงายมือ  วางนิ้วหัวแม่มือคู่
กดตามแนวนิ้วกลาง  เริ่มจากใต้ข้อศอกไปจนถึงบริเวณเหนือข้อมือ

การกดจุดสัญญาณแขนด้านนอก
การจัดท่า
ผู้ถูกนวด    นั่งขัดสมาธิ  หรือหนั่งห้อยขา
ผู้นวด        นั่งท่าพรหมสี่หน้า  (ตั้งเข่าข้างใกล้ผู้ถูกนวด)  หันหน้าไปทางเดียวกับผู้ถูกนวด
วิธีการนวด
๑.      คว่ำมือ  ใช้นิ้วหัวแม่มือ  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)
กด  ส.๑  แขนด้านนอก  ที่แนวตัดระหว่างกล้ามเนื้อต้นแขนกับขอบสะบักด้านนอก
มือด้านนอกจับข้อมือผู้ถูกนวดหงายขึ้นเล็กน้อย
พร้อมทั้งยกขึ้นให้ข้อมืออยู่ในระดับสายตาของผู้ถูกนวด

๒.    กด  ส.๒  แขนด้านนอก  นวดได้  ๓  วิธี  คือ
-ท่าคว่ำมือ  :  คว่ำมือ  ใช้นิ้วหัวแม่มือ  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)
กดลงตรงกึ่งกลางแขนท่อนบนด้านนอก  (บริเวณจุดสิ้นสุดของกล้ามเนื้อต้นแขนด้านนอก)
-ท่าหงายมือ  :  หงายมือ  ใช้นิ้วหัวแม่มือ  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)
กดลงตรงกึ่งกลางแขนท่อนบนด้านนอก
-ท่าไขว้มือ  :  มือด้านใน  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)
จับข้อมือผู้ถูกนวด  ไขว้มือด้านนอก  (ข้างไกลผู้ถูกนวด)
คว่ำมือ  ใช้นิ้วหัวแม่มือกดลงตรงกึ่งกลางแขนท่อนบนด้านนอก

๓.     หงายมือ  ใช้นิ้วหัวแม่มือ  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)
กด  ส.๓  แขนด้านนอก  ตรงร่องข้อพับศอกด้านบน  (งอแขน)
มืออีกข้างจับข้อมือผู้ถูกนวด

๔.     คว่ำมือ  ใช้นิ้วหัวแม่มือ  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)
กด  ส.๔  แขนด้านนอก  ตรงร่องข้อพับศอกด้านล่าง  (งอแขน)
มืออีกข้างจับข้อมือผู้ถูกนวด

๕.     หงายมือ  ใช้นิ้วหัวแม่มือคู่  หรือนิ้วเดียว  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)
กด  ส.๕  แขนด้านนอก  ที่แขนด้านนอกท่อนล่าง
ห่างจากข้อศอก  ๑/๓  ของความยาวจากข้อศอกถึงข้อมือ

ตำแหน่งจุดสัญญาณแขนด้านนอก
 ชื่อ
ตำแหน่ง
ผลของการกด
ส.๑แนวตัดระหว่างกล้ามเนื้อต้นแขนกับกระดูกหัวไหล่  (สูงกว่า  ส.๑  หัวไหล่เล็กน้อย)-จ่ายความร้อนออกไปทั่วแขนด้านนอกถึงปลายนิ้วมือ-แก้ลมปราบที่แขน  แก้กล้ามเนื้อแขนลีบ  แขนชา -ช่วยแก้มือชา  นิ้วชา
-ช่วยในกรณีกระดูกแขนหักหรือร้าว  ให้ติดดีขึ้นหลังจากถอดเฝือกแล้ว
ส.๒กล้ามเนื้อต้นแขนด้านนอกแนวข้อศอก  (นวดท่าไขว้มือ)-จ่ายความร้อนเลียบกระดูกแขน  และเยื่อหุ้มกระดูกแขนด้านนอก-แก้ในกรณีกระดูกแขนหักหรือร้าว  ให้ติดดีขึ้น -ช่วยให้แขนมีแรง  กระดูกมีกำลังหลังจากถอดเฝือกแล้ว
-ช่วยแก้ปวดเสียวหรือเกิดการฟกช้ำของกระดูกแขน
ส.๓ร่องข้อพับศอกด้านบน  (งอแขน)-จ่ายความร้อนเข้าข้อศอกบน-แก้ข้อศอกเคลื่อนด้านนอก -ช่วยแก้เกี่ยวกับโรคข้อศอก  เช่น  ข้อศอกอักเสบ  ข้อศอกติด  เส้นเอ็นอักเสบ
ส.๔ร่องข้อพับศอกด้านล่าง  (งอแขน)-จ่ายความร้อนเข้าหัวต่อกระดูกข้อศอกล่าง-แก้ข้อศอกเคลื่อนด้านใน -ช่วยแก้เกี่ยวกับโรคข้อศอก  เช่น  ข้อศอกอักเสบ  ข้อศอกติด
ส.๕แขนด้านนอกท่อนล่าง  (ห่างจากข้อศอก  ๑/๓  ของความยาวจากข้อศอกถึงข้อมือ)-จ่ายความร้อนเข้ามือและออกหลังมือ-แก้โรคเกี่ยวกับข้อมือ  เช่น  สันนิบาตมือตก -ช่วยแก้เกี่ยวกับนิ้วชา  เคล็ด
-ในกรณีที่นวด  ส.๓  หัวไหล่  แล้วเกิดอาการแขนชา  ให้แก้ที่สัญญาณนี้

การนวดพื้นฐานแขนด้านในท่านั่ง
การจัดท่านั่ง
ผู้ถูกนวด                นั่งขัดสมาธิ  หรือหนั่งห้อยขา
ผู้นวด                     นั่งท่าพรหมสี่หน้า  (ตั้งเข่าข้างใกล้ผู้ถูกนวด)  หันหน้าเข้าหาผู้ถูกนวด
วิธีการนวด
๑.      นวดได้  ๓  วิธี
-ท่าคว่ำมือ  :  คว่ำมือ  ใช้นิ้วหัวแม่มือ  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)
กดตรงกึ่งกลางแขนด้านใน  (ใต้กล้ามเนื้อลูกหนู-Biceps)  มืออีกข้างจับชีพจรข้อมือผู้ถูกนวด
-ท่าหงายมือ  :  หงายมือ  ใช้นิ้วหัวแม่มือ  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)
กดตรงกึ่งกลางแขนด้านใน  มืออีกข้างจับชีพจรข้อมือผู้ถูกนวด
๒.  หงายมือ  วางนิ้วหัวแม่มือคู่หรือนิ้วเดียว  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)
กดตั้งแต่กึ่งกลางข้อพับแขน  ตามแนวนิ้วกลาง  ลงไปจนถึงเหนือข้อมือ  (จุดสร้อยข้อมือ)
ลักษณะนิ้วต่อนิ้ว

การนวดพื้นฐานแขนด้านในท่านอน
การจัดท่า
ผู้ถูกนวด                นอนหงาย
ผู้นวด                     นั่งคุกเข่าคู้  ๙๐๐ หันหน้าไปทางศีรษะผู้ถูกนวด
วิธีการนวด
๑.  กางแขนผู้ถูกนวดให้ตั้งฉากกับลำตัว  ในลักษณะหงายมือ  ใช้อุ้งมือ  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)
กดบริเวณกึ่งกลางแขนท่อนบน  (ร่องกล้ามเนื้อต้นแข้นด้านใน  จะคลำพบชีพจร)
ใช้นิ้วชี้  นิ้วกลางและนิ้วนาง  อีกมือหนึ่งจับชีพจรที่ข้อมือผู้ถูกนวด
๒.หงายมือ  วางนิ้วหัวแม่มือคู่  กดตั้งแต่ข้อพับแขนด้านใน  แนวนิ้วกลาง
ไล่ลงไปจนถึงเหนือข้อมือ  (จุดสร้อยข้อมือ)  ลักษณะนิ้วต่อนิ้ว
หมายเหตุ
เป็นเส้นพื้นฐานที่นวดแล้วเกิดอาการเป็นลมได้ง่าย

การกดจุดสัญญาณแขนด้านใน
การจัดท่า
ผู้ถูกนวด                นอนหงาย
ผู้นวด                     นั่งคุกเข่าคู้  ๙๐๐ หันหน้าไปทางศีรษะผู้ถูกนวด
วิธีการนวด
๑.      คว่ำมือ  ใช้นิ้วหัวแม่มือ  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)  กด  ส.๑  แขนด้านใน
จุดต่ำกว่าปุ่มกระดูกแขนด้านใน  ทางโคนแขนเล็กน้อย  (เป็นจุดที่ไม่อยู่บนเส้นพื้นฐาน)
๒.    ใช้ส้นมือ  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)  กด  ส.๒  แขนด้านใน  กึ่งกลางแขนท่อนบนด้านใน
ใต้กล้ามเนื้อลูกหนู
๓.     วางนิ้วหัวแม่มือคู่  กด  ส.๓  แขนด้านในกึ่งกลางข้อพับศอก  แนวนิ้วกลาง
๔.     วางนิ้วหัวแม่มือคู่  กด  ส.๔  แขนด้านในจุดกึ่งกลางแขนด้านในท่อนล่าง
๕.     วางนิ้วหัวแม่มือคู่  กด  ส.๕  แขนด้านใน  เหนือข้อมือ  (เหนือจุดสร้อยข้อมือ)
ตำแหน่งจุดสัญญาณแขนด้านใน
ชื่อ
ตำแหน่ง
ผลของการกด
ส.๑ต่ำกว่าปุ่มกระดูกต้นแขนด้านในเล็กน้อย-จ่ายความร้อนเลียบกระดูกและเยื่อหุ้มกระดูกแขนด้านใน-แก้ในกรณีกระดูกแขนหักหรือร้าว  ให้กระดูกติดดีขึ้น -ช่วยให้แขนมีแรง  กระดูกมีกำลังหลังจากการถอดเฝือกแล้ว
-ช่วยแก้อาการปวดเสียว  หรือเกิดการฟกช้ำของกระดูกแขน
ส.๒กึ่งกลางแขนท่อนบนด้านในใต้กล้ามเนื้อลูกหนู-จ่ายความร้อนลงท้องแขนทั่วไป-แก้ลมปราบที่แขน  แก้เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อแขนอักเสบ -ช่วยแก้กล้ามเนื้อแขนลีบ  แขนชา
ส.๓กึ่งกลางข้อพับศอก-จ่ายความร้อนเข้าหัวต่อกระดูกข้อศอก-แก้ข้อศอกเคลื่อน -ช่วยแก้เกี่ยวกับโรคข้อศอก  เช่น  ข้อศอกอักเสบ  ข้อศอกติด
ส.๔กึ่งกลางแขนท่อนล่าง  (จุดแรกที่กดแล้วทำให้นิ้วกลางและนิ้วนางกระดก)-จ่ายความร้อนไปสู่หัวต่อกระดูกข้อมือ-แก้สันนิบาตมือตก -ช่วยแก้โรคเกี่ยวกับข้อมือ  เช่น  ข้อมือเคล็ด  ข้อมือเคลื่อนอักเสบ  เส้นเอ็นอักเสบ
ส.๕ชิดกระดูกข้อมือแนวกึ่งกลาง  (เหนือจุดสร้อยข้อมือเล็กน้อย)-จ่ายความร้อนออกปลายนิ้วทั้งหมด-แก้ข้อมือเคลื่อน  ข้อมืออักเสบ -ช่วยแก้เกี่ยวกับโรคข้อนิ้วมือ  เช่น  นิ้วมือซ้น  นิ้วมือติด
-ช่วยในรายที่เป็นอัมพาตแขน  แขนอ่อนแรง  ข้อมือและข้อนิ้วต่าง ๆ  เคลื่อน  และมีการอักเสบจากอุบัติเหตุ
ข้อควรระวัง
๑.      กรณีที่มีการแตกหักร้าวของกระดูกแขนไม่ควรนวด
๒.    กรณีที่มีการฉีกขาดของมัดกล้ามเนื้อต่าง ๆ  ไม่ควรนวด
๓.     บริเวณแขนด้านนอกท่อนล่าง  ไม่ควรกดแรง  อาจทำให้เส้นประสาทชา
ทำให้กำมือ-แบมือไม่ได้หรือกระดกข้อมือไม่ได้
๔.     บริเวณแขนด้านในท่อนล่าง  และบริเวณข้อพับศอก  มีหลอดเลือดแดงใหญ่  ไม่ควรกดแรง

ข้อมูลจาก nuadthai1.wordpress

การนวดพื้นฐานบ่า

การนวดพื้นฐานบ่า
เป็นพื้นฐานที่สู้มือง่าย  (มีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อง่ายเมื่อเริ่มออกแรงกด)  เพราะฉะนั้นการนวดจึงจำเป็นต้องแต่งรสมือ  (เมื่อเริ่มกดจะลงน้ำหนักเบาเพื่อกระตุ้นให้กล้ามเนื้อรู้ตัว  แล้วจึงค่อย ๆ  เพิ่มน้ำหนักมากขึ้นเป็นขนาดปานกลางและมากตามลำดับ  การกดน้ำหนักขึ้นทีละน้อยจะทำให้กล้ามเนื้อสามารถปรับตัวรับน้ำหนักได้โดย ไม่รู้สึกเจ็บมากและไม่เกิดอันตราย)  โดยใช้ท่านวด  หกสูง-หกกลาง-หกต่ำ  และใช้น้ำหนัก  ๕๐-๗๐-๙๐  ปอนด์  ตามลำดับ  
มีวิธีการนวด  ๒  วิธีคือ๑.      การนวดพื้นฐานบ่าท่านั่ง ๒.    การนวดพื้นฐานบ่าท่านอน

การนวดพื้นฐานบ่าท่านั่ง
การจัดท่า
ผู้ถูกนวด                นั่งขัดสมาธิ  หรือนั่งห้อยขา
ผู้นวด                     ยืนท่าหกสูง,  หกกลาง,  หกต่ำ
วิธีการนวด
๑.      วางนิ้วหัวแม่มือคู่  กดบนแนวกล้ามเนื้อบ่า  เริ่มจากชิดร่องข้อต่อกระดูกหัวไหล่ด้านบน  (หัวดุมไหล่)  กดไหล่ไปจนถึงปุ่มกระดูกต้นคอ  (C7)  โดยผู้นวดยืนอยู่ในท่าหกสูง  (กางขาเสมอไหล่ในระนาบเดียวกัน)  ใช้น้ำหนัก  ๕๐  ปอนด์  (๑/๒  ของกำลังผู้นวด)
๒.    วางนิ้วหัวแม่มือคู่  กดไล่จากชิดปุ่มกระดูกต้นคอย้อนกลับในแนวเดิม  โดยผู้นวดยืนในท่าหกกลาง   (ขาข้างหนึ่งล้ำไปข้างหน้า  เวลากดโน้มตัวไปด้านหน้า  งอเข่าหน้า  ขาข้างที่อยู่ด้านหลังตึง)  ใช้น้ำหนัก  ๗๐  ปอนด์  (๓/๔  ของกำลังผู้นวด)
๓.     วางนิ้วหัวแม่มือคู่  กดไล่ขึ้นในแนวเดิม  (แนวเดียวกับข้อ  ๑.)  โดยผู้นวดยืนในท่าหกต่ำ  (ขาข้างหนึ่งล้ำไปข้างหน้า  เวลากดย่อเข่าขาข้างที่อยู่หน้า  เปิดปลายเท้าขาข้าที่อยู่ด้านหลัง  ขาตึง)  ใช้น้ำหนัก  ๙๐  ปอนด์  (เต็มกำลังของผู้นวด)
ข้อควรระวัง
๑.      ไม่ควรกดล้ำกล้ามเนื้อบ่าไปด้านหน้า  เพราะบริเวณนั้นเต็มไปด้วย
ระบบหลอดเลือดไปเลี้ยงสมอง  ถ้ากดอาจทำให้คนไข้เป็นลม  คลื่นไส้อาเจียนได้  (Carotic artery)
๒.    กรณีผู้ป่วยมีความดันโลหิตสูงไม่ควรกดแรง
หมายเหตุ
เป็นเส้นพื้นฐานที่ทำให้เกิดอาการเป็นลมได้ง่าย

การนวดพื้นฐานบ่าท่านอน
เป็นการนวดเหมือนนวดพื้นฐานบ่าท่านั่ง  เพียงเปลี่ยนสภาพผู้ถูกนวดจากท่านั่งเป็นท่านอน  ผู้นวดเปลี่ยนจากท่ายืน  เป็นนั่งคุกเข่าคู้อยู่หลังผู้ถูกนวด  การวางมือและทิศทางการนวดเหมือนท่านั่ง
การกดจุดสัญญาณหัวไหล่
การจัดท่า
ผู้ถูกนวด                นั่งขัดสมาธิ  หรือนั่งห้อยขา
ผู้นวด                     นั่งท่าพรหมสี่หน้า  หันหน้าไปทางเดียวกับผู้ถูกนวด
วิธีการนวด
๑.      คว่ำมือ  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)  ใช้นิ้วหัวแม่มือ  กด  ส.๑ หัวไหล่  บริเวณปีกสะบัก
(รอยตัดระหว่างแนวกล้ามเนื้อต้นแขนกับขอบสะบักด้านนอก  ต่ำกว่า  ส.๑  แขนด้านนอกเล็กน้อย)  มืออีกข้างจับข้อมือผู้ถูกนวดงอข้อศอกหงายขึ้นเล็กน้อยให้ข้อมืออยู่ในระดับสายตาของผู้ถูกนวด  พร้อมทั้งโน้มตัวเข้าหาผู้ถูกนวดโดยให้แขนข้างที่กดตึง
๒.    หงายมือ  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)  ใช้นิ้วหัวแม่มือ  กด  ส.๒  หัวไหล่  กึ่งกลางโค้งคอ
แนวปลายติ่งหูทิศแรงขนานกับพื้น
๓.     เลื่อนมือจากตำแหน่ง  ส.๒  ประมาณ  ๑  นิ้วมือ  กด  ส.๓  หัวไหล่
ทิศแรงที่กดเฉียงลงด้านล่าง
๔.     เลื่อนนิ้วหัวแม่มือ  จากตำแหน่ง  ส.๓  จนชิดแนวกระดูกไหปลาร้าด้านในตัดกับแนวติ่งหู  (ส.๔)  ทิศแรงออกด้านหลัง
๕.     หมุนตัว  หันหน้าเข้าหาผู้ถูกนวด  คว่ำมือ  (ข้างใกล้ผู้ถูกนวด)
กด  ส.๕  หัวไหล่  รอยบุ๋มของรักแร้ขณะพับแขน  กดแล้วยกขึ้นด้านบน
ตำแหน่งจุดสัญญาณหัวไหล่
ชื่อ
ตำแหน่ง
ผลของการกด
ส.๑บริเวณปีกสะบัก  (รอยตัระหว่างแนวกล้ามเนื้อต้นแขนกับขอบสะบักด้านนอก  ต่ำกว่า  ส.๑  แขนด้านนอกเล็กน้อย)-  จ่ายความร้อนเข้ากระดูกหัวไหล่ และแขนด้านนอก-  แก้หัวไหล่เคลื่อน  หัวไหล่เบี่ยง  ไหล่ติด  ไหล่อักเสบ
ส.๒กึ่งกลางโค้งคอ  แนวปลายติ่งหู  (กดให้ทิศแรงขนานกับพื้น)-  จ่ายความร้อนเข้าหัวกระดูกไหล่  ห้ามกดในผู้ป่วยเป็นอัมพาต  เหยียดคู้แขนไม่ได้  เพราะจะทำให้กระดูกไหล่เคลื่อนมากขึ้น-  แก้หัวไหล่เคลื่อน  หัวไหลเบี่ยง  ไหล่ติด  ไหล่อักเสบ
ส.๓ใต้  ส.๒  ประมาณ  ๑  นิ้วมือ  (ทิศแรงที่กดเฉียงลงด้านล่าง)-  จ่ายความร้อนออกแขนด้านในสู่ปลายนิ้ว-  แก้โรคเกี่ยวกับหัวไหล่และแขน  แขนชา  แก้แขนไม่มีกำลัง
ส.๔ตำแหน่งจุดตัดระหว่างแนวกระดูกไหปลาร้าด้านในกับเส้นแนวดิ่งจากติ่งหู-  จ่ายความร้อนลงหน้าอก  ออกสะบัก  หลังและรักแร้-  ช่วยแก้โรคเกี่ยวกับหัวไหล่  และโรค  ส.๔  หลัง
ส.๕รอยบุ๋มของรักแร้ขณะพับแขน  (กดแล้วยกขึ้นด้านบน)-  จ่ายความร้อนเข้าข้อต่อกระดูกหัวไหล่  ผลักกระดูกให้เข้าที่-  แก้โรคเกี่ยวกับหัวไหล่  เช่น  หัวไหล่อักเสบ  หัวไหล่ติด  หัวไหล่เคลื่อนให้เข้าที่
ข้อควรระวังในการกดจุดสัญญาณหัวไหล่ไม่ควรกดแรง  เพราะมีเส้นประสาทที่มาเลี้ยงแขน  (Barchial nerve)  ถ้ากดแรงเกินไปอาจทำให้แขนไม่มีแรง  ยกแขนไม่ขึ้น ๒.    กรณีผู้ป่วยเป็นโรคหัวไหล่ควรหยุดอยู่ในความควบคุมของผู้ชำนาญ
๓.     กรณีหัวไหล่หลุด  เคลื่อน  ไม่ควรนวด

ข้อมูลจาก nuadthai1.wordpress